วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


 
          ช่างเครืองถมนับเป็นหัวใจหลักของการทำงาน หากไม่มีช่าง ผลิตภัณฑ์ต่างๆคงจะไม่เกิดเช่นเดียวกัน ช่างคนแรกที่นับว่าเป็นคนนำเครื่องถมมา คือ นายเห้ง โสภาพงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ต่อมาอาจารย์พยงค์ จันทรังษี ซึ่งเป็นพระสหายของรัชกาลที่ห้า มีความรู้ความสามารถทางด้านงานถม และเป็นช่างคนหนึ่งที่มีฝีมือการแกะสลักลวดลายด้วยมือได้สวยสดงดงาม เมื่อออกมาจากพระราชวังก็ได้นำวิธีการทำเครื่องถมนี้ มาสืบสานต่อที่จ.นครศรีธรรมราช จนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว จวบจนมาถึงปัจจุบัน นางสาวสกลวรรณ จันทรังษี ซึ่งเป็นทายาทได้สืบสานงานทางด้านนี้ต่อและได้พยายามรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ชื่อว่า “ กลุ่มเครื่องถมเมืองนคร ” เพื่อให้ลูกหลานได้เห็นงานฝีมือสวยสดงดงามและเป็นที่เลื่องลือ
          ศิลปะแขนงนี้ใช่ว่าจะถูกสร้างขึ้นมาอย่างง่ายดายและรวดเร็วถึงแม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำยังไงแต่ก็สู้ฝีมือของมนุษย์ที่ละเมียดละไมไม่ได้ เครื่องถมเมืองนครก็เช่นกันกว่าจะออกมาเป็นสินค้าแต่ละชิ้นนั้นต้องผ่านช่างมากหน้าหลายตา พร้อมกับหลากหลายความสามารถ ช่างคนแรกที่เริ่มหล่อหลอมวัถุดิบต่างๆ ให้กลายมาเป็นเครื่องถม คือ ช่างขึ้นรูป เป็นช่างที่มาจากช่างเครื่องเงิน ช่างทองที่ทำรูปประพรรณได้สัดส่วน ช่างแกะสลัก ผู้ที่คอยบรรจงสลักเสลาลวดลายให้อ่อนช้อยงดงามตามแบบนิยม ช่างถม เป็นช่างที่ต้องการความชำนาณในการผสมและลงยาถมบนพื้นที่ที่แกะสลักลวดลายไว้เรียบร้อยแล้ว สุดท้ายช่างแร กรรมวิธีเหล่านี้จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะหากเสียหายแม้แต่นิดเดียวงานก็ใช้ไม่ได้ ช่างเหล่านี้ใช่ฝึกวันเดียวเดือนเดียวจะสามารถทำงานให้ออกมาดีได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝน 4-5 ปีด้วยกัน ถ้าหากทำงานอย่างอื่นก็สามารถรวยไปนานแล้ว แต่การทำงานที่ต้องใช้ฝีมือล้วนๆนั้น จะต้องอาศัยความพยายาม อดทน แต่สองอย่างนี้คงไม่เพียงพอสำหรับคนที่จะทำงานช่างถม สิ่งสำคัญที่สุดของช่างเครื่องถมจะต้องมีใจรักและความทุ่มเทต่อสิ่งที่ทำ หลายต่อหลายคนด้วยกันที่คิดว่างานด้านนี้จะหัดครั้งสองครั้งก็เป็น แต่ในทางกลับกันแล้วไม่ใช่ และหลายต่อหลายคนที่เข้ามาสัมผัสก็ต้องเลิกราไป เนื่องจากไม่สามารถทำงานให้ออกมาดีได

          ปัจจุบันเครื่องถมเป็นที่พอใจของใครๆหลายคนถึงแม้จะอยุ่ต่างประเทศต่างวัฒนธรรมก็ยังมีความเป็นไทยเหลืออยู่มากมาย จึงทำให้มีลูกค้าสั่งสินค้าไม่ขาด แต่สิ่งที่คุณสกลวรรณ กังวนเป็นที่สุดคือ ช่างฝีมือที่นับวันก็ยิ่งหายไปกับการเวลาเหลือไม่กี่คนเท่านั้นที่มีความสามารถด้านนนี้โดยเฉพาะ ปรมาจารย์จริงๆมีประมาณ 5 คน เพราะเครื่องถมเมืองนครต้องใช้มือในการทำล้วนๆแต่ละลายแต่ละรูปก็ถูกบรรจงมาจากสองมือน้อยๆของช่างทั้งนั้น นอกจากนี้เวลาในการทำงานนั้นก็นานยิ่งนัก 5-6 เดือนกว่างานแต่ละชิ้นจะออกมาสู่สายตาคนสั่ง หากจะใช้เทคโนโลยีช่วยนั้นถึงแม้จะเร็วทันต่อความต้องการของลูกค้า แต่ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของเครื่องถมเมืองนครก็หายไปด้วยเช่นกัน และด้วยความยากของลวดลาย ความยาวนานในการทำ ทำให้ช่างบางคนไม่พอใจต่อค่าแรงที่ตนได้รับและหากไม่ได้ค่าแรงตามที่พวกเขากำหนดก็ไม่ยอมทำงาน จึงทำให้เป็นปัญหาใหญ่ของกลุ่มเครื่องถมเมืองนคร เพราะมีช่างไม่เพียงพอต่อการทำงาน คุณสกลวรรณกล่าว ด้วยน้ำเสียงที่เบา

           ทางคุณสกลวรรณเองอยากให้ทางรัฐช่าวยส่งเสริมงานฝีมือแกะสลักเครื่องถมเพื่อให้ช่างใหม่ๆเข้ามาสืบสารฝีมือทางด้านนี้ต่อ เพราะจะได้มีช่างเข้ามาทำงานเยอะๆพร้อมกับให้คนรุ่นหลังเรียนรู้ถึงศิลปะลวดลายสีดำอันวิจิตรบรรจงของไทยเราที่สืบทอดมายาวนาน และให้เครื่องถมเมืองนครไม่ศูนย์หายไปด้วย ลูกหลานรุ่นต่อๆก็ได้สืบสารพร้อมกับอนุรักษ์งานเครื่องถมที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของศิลปะเมืองนคร ให้รุ่นต่อๆไปได้เห็น เหมือนดั่งที่เขาหลวงยังยืนตระหง่านให้ชาวนครได้ชื่นชม




วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเภทของเครื่องถมเมืองนคร

ประเภทของเครื่องถมเมืองนคร
 เครื่องถม  หมายถึง  ภาชนะ  เครื่องใช้ที่ทำด้วยเงินหรือทอง  มีลวดลายแกะเป็นสีเงินหรือสีทอง  ตัดกับสีพื้นหรือสีของน้ำยาสีดำสนิทลวดลายที่เกิดขึ้นบนเครื่องถม   เกิดจากการแกะสลักเป็นลวดลาย เป็นร่องลึกลงไปบนภาชนะแล้วใช้ตัวยา ซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีสีดำผสมกับน้ำประสานทอง  หลอมละลายแทรกลงไปในช่องว่างระหว่างลาย เพื่อช่วยให้เห็นลายเด่นชัดขึ้น
    เครื่องถม เป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูงอีกประเภทหนึ่ง ที่คนไทยรู้จักมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เพราะปรากฎในพงศาวดารว่า เครื่องถมนี้นับเป็นหนึ่ง ในเครื่องราชูปโภค ของไทยตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และต่อมาในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เครื่องถมก็กลายเครื่องราชบรรณาการที่โปรดฯ ให้ราชฑูตไทย นำไปถวายสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส และสมเด็จพระสันตปาปา ณ กรุงวอชิงตัน ซึ่งเครื่องถมทั้งหลายในครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดฯ ให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จัดหาช่างถมฝีมือเลิศเข้าไปทำ ณ กรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ จึงทำให้หลายฝ่ายสรุปว่า ถมนคร นั้นรับมาจากฝรั่งชาติโปรตุเกสที่เข้าไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน ในนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๖๑¹
ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องถมก็ยังถือเป็นของสูงศักดิ์ ที่ใช้เป็นเครื่องราชูปโภค และเครื่องราชบรรณาการ และบรรดาช่างแทบทั้งหมดก็เป็นชาวนคร แม้ที่อพยพมาตั้งบ้านช่างถมที่กรุงเทพฯ ในครั้งแรกนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เครื่องถมเมืองนคร ได้รับความนิยมอย่างสูง ในราชสำนัก และเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเอง คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ก็เป็นผู้ส่งเสริม และทำนุบำรุงช่างถมให้เจริญก้าวหน้า อีกทั้งตัวท่านเอง เป็นผู้มีฝีมืออันเลิศ จนถมเมืองนคร เข้ามามีชื่อเสียงในพระนครเป็นอย่างมาก ดังเช่น พระแท่นออกขุนนางถม และพระเสลี่ยงถม ที่ทำถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) ก็ได้นำช่างถมเมืองนคร มาสร้างพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์² ซึ่งเป็นพระที่นั่งถมทองขนาดใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เครื่องถม นอกจากจะเป็นเครื่องราชูปโภคแล้ว ยังเป็นเครื่องราชบรรณาการอีกอย่างหนึ่งด้วย กล่าวคือ เป็นของขวัญชิ้นสำคัญของพระเจ้าแผ่นดินเสมอมา อาทิ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานเครื่องถม ถวายแด่สมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ และจนบัดนี้ ยังตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังบัคกิ้งแฮม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระราชทานเครื่องถม แด่สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธแห่งอังกฤษ แด่ประธานาธิบดีไอเชนฮาวแห่งสหรัฐอเมริกา เฉพาะอย่างยิ่งทรงเลือกหีบบุหรี่ถมทอง และตลับแป้งถมทอง พระราชทานแก่แพทย์และนางพยาบาลทั้ง ๔ ที่ร่วมถวายการประสูติ และอภิบาลพระองค์ท่าน ณ เมื่องบอสตัน³
ครั้นเครื่องถมได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ช่างไม่สามารถผลิตได้ทัน ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศได้ อีกทั้งต้นทุนการผลิตก็ถีบตัวสูงขึ้นทุกที ช่างฝีมือดีก็นับวันจะลดลงๆ เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือ และความละเอียดประณีตสูง จึงทำให้ช่างสมัยใหม่ นำเอากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วย ซึ่งทำให้ต้นในการผลิตต่ำลง แต่ผู้ที่รักในศิลปะไม่นิยม ในที่สุดงานเครื่องถม ก็ด้อยความนิยมและเสื่อมลงไป แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้โปรดฯ ให้ฟื้นฟูวิชานี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะทรงเกรงว่าครูช่างถม จะสูญสิ้นไปหมดจึงโปรดฯ ให้นำช่างชาวนครศรีธรรมราช มาเป็นครูสอนสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพ จนในปัจจุบันมีช่างผู้สืบต่อ ถึงขั้นถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อไป ได้อย่างภาคภูมิจำนวนไม่น้อย และเครื่องถม ก็กลับมาได้รับความนิยมอย่างสูง อีกครั้งหนึ่ง

     เครื่องถมแบ่งเป็น 3 ชนิด 1.เครื่องถมเงิน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ถมดำ ลักษณะเป็นเนื้อถมที่ถมลงไปบนพื้นตามร่องลาย เป็นสีดำมันซึ่งเนื้อถมจะขับลวดลายให้เด่นงดงามอยู่บนพื้นสีเงิน ตามความนิยมถมเงิน หรือถมดำที่ดีจะต้องมีสีดำสนิท ไม่มีตามด (จุดขาวบนสีดำ)

2. เครื่องถมทอง เป็นการนำเอาถมดำ หรือถมเงินที่ใช้กรรมวิธีตะทอง หรือเปียกทองทำให้ลายสีเงินเป็นสีทองตามทองที่แต้มไว้ แต่แตกต่างกันตรงที่ลวดลาย คือ ลายสีเงินเปลี่ยนเป็นสีทอง ช่างถมจะละลายทองคำให้เหลวเป็นน้ำ โดยการใส่ทองแท่งลงในปรอทแล้วช่างถมจำนำพู่กันมาจุ่มลงในน้ำทองเขียนทับลงบนลวดลายสีเงิน เมื่อเขียนแล้วเสร็จ จะใช้ความร้อนเผ่าไล่ปรอทออกจากทองทองก็จะติดแน่นอยู่บนพื้นที่เขียนด้วยน้ำทองนั้น


3. เครื่องถมตะทอง คือการนำทองคำบริสุทธิ์ผสมปรอทมาทาเนื้อเงินของถมเงินโดยการระบายเป็นแห่งๆ เฉพาะที่ไม่ใช้การระบายจนเต็มเนื้อที่เหมือนการถมทอง แต่เป็นการแต้มทองในเนื้อที่บางแห่งเพื่อเป็นการเน้นจุดเด่น หรือการอวดลายเด่นๆ การทำถมตะทองทำให้ได้เครื่องถมพื้นลายสีดำ และมีดวกดวงลวดลายเป็นสีเงินสลับกับสีทองเป็นแห่งๆ ตามแต่ช่างจะเลือกสรร

ผลิตภัณฑ์
 ซองพลูถมทอง
 
           เครื่องถมจะมีกำเนิดขึ้นในเมืองไทย  ในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัด  แต่ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำเครื่องถมในกลุ่มประเทศตะวันตกนั้น กล่าวกันว่านำมาจากตำราของแรคสิอุส  ชาวโรมัน  และเท่าที่ค้นพบเครื่องถมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเป็นของชาวโรมัน  ซึ่งประมาณกันว่ามีมาก่อนสร้างกรุงโรมต่อมาความรู้ในการทำเครื่องถมเหล่านั้นได้แพร่หลายมาสู่ประเทศไทย มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะมาจากชาวโปรตุเกส  ได้ส่งราชทูตมาเจริญพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา  ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  และได้ทรงอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าครั้งแรก  ในพระราชอาณาจักรไทยตามหัวเมืองใหญ่  ๔   หัวเมือง คือ  นครศรีธรรมราช  ปัตตานี  ปะริด  และกรุงศรีอยุธยา

 กาน้ำถมทอง
 
      ซึ่งทำให้คนไทยรับเอาขนบประเพณีและศิลปวิทยาการหลายอย่างมาจากชาวโปรตุเกส  โดยเฉพาะที่เมืองนครศรีธรรมราชได้รับเอาวิธีการทำเครื่องถมไว้ และต่อมาวิธีการทำเครื่องถมก็ได้แพร่หลายเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา  จนมีอยู่ครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  โปรดเกล้าให้ทำไม้กางเขนส่งไปถวายสันตะปาปาที่กรุงโรม   ก็ได้รับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชหาช่างถมที่มีฝีมือเข้ามาทำ    แสดงว่าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของการทำเครื่องถม


คนโทถมทอง
 
      สำหรับความเชื่อหนึ่งกล่าวว่า  ชาวอินเดียซึ่งเป็นผู้มีความรู้ทางด้านศิลปหัตถกรรมเครื่องเงิน  ได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวไทยที่เมืองนครศรีธรรมราช  ได้ถ่ายทอดวิธีการทำเครื่องถมดังกล่าวนี้ไว้ที่นครศรีธรรมราช  เพราะเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งที่มีชาวมาลายู  ชาวชวา    และชาวอินเดียเข้ามาติดต่อค้าขายเสมอ  และเมื่อชาวนครศรีธรรมราช  ได้รับความรู้เรื่องเครื่องถมจากชาวอินเดียแล้ว  วิชาเครื่องถมจึงได้แพร่หลายสู่กรุงศรีอยุธยา


 พานถมทอง
 
            ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์  งานเครื่องถมคงมีการทำสืบทอดต่อมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา  เพราะในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑  ก็ทรงโปรดเครื่องลงยาชนิดหนึ่ง  คือ  ราชาวดี  เป็นอย่างมาก  ถึงกับโปรดให้ทำเครื่องราชูปโภคต่างๆ  เช่น  พานขันหมากใหญ่   ไปจนถึงพระโกฐอ้ฐิของสมเด็จพระชนกก็เป็นราชาวดี  และในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ ๒ เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราชได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในราชสำนัก  ทั้งนี้เพราะเจ้าพระยานครศรีธรรมราช  (น้อย) เป็นผู้ส่งเสริม  และทำนุบำรุงช่างถมให้เจริญก้าวหน้า  อีกทั้งตัวท่านเองก็เป็นผู้มีฝีมืออันเลิศ  จนทำให้งานถมเมืองนครศรีธรรมราชเข้ามามีชื่อเสียงในพระนครเป็นอย่างมาก  ดังเช่น  พระแท่นออกขุนนางถมและพระเสลี่ยงถม  ที่ทำถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓  และเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม)  ก็ได้นำช่างถมเมืองนครศรีธรรมราชมาสร้างพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์  ซึ่งเป็นพระที่นั่งถมทองขนาดใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕
 กระโถนถมทอง
 
     ปัจจุบันศิลปะการทำเครื่องถมมีเหลือน้อยมาก  ทั้งนี้คงเป็นเพราะเครื่องถมเป็นของที่มีค่าและมีราคาสูง  จึงใช้กันอยู่แต่ในราชสำนักและแวดวงผู้มีฐานะดีเท่านั้น  ขณะเดียวกันการทำเครื่องถมต้องเป็นงานที่ใช้ฝีมือและความละเอียดประณีตสูง  ซึ่งต้องทำด้วยมือล้วนๆ  อีกทั้งต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้น  และช่างฝีมือดีๆ  ก็นับวันจะลดลง  ดังนั้นในระยะหนึ่งจึงทำให้ช่างสมัยใหม่  นำเอากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย    โดยใช้การพิมพ์ลายลงบนภาชนะโดยสกรีน   แล้วใช้กรดและน้ำยาเคมีกัดให้เกิดเป็นลวดลายแทนการแกะสลักด้วยมือ  เครื่องถมชนิดนี้เรียกว่า  ถมจุฑาธุช  แต่ผู้ที่รักในศิลปะไม่นิยม  ในที่สุดก็ด้อยความนิยมลงไป  



ยุคแรกเริ่มของเครื่องถมเมืองนคร

ยุคแรกเริ่มของเครื่องถมเมืองนคร
          ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่านครจะได้รับการถ่ายทอดความรู้วิชาการทำเครื่องถมมาจากแหล่งใด บ้างก็เชื่อว่าได้รับความรู้มาจากชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวนครในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในราว พ.ศ.2061 บ้างก็เชื่อว่าชาวนครได้ประดิษฐ์สร้างสรรค์รูปแบบและคิดค้นเทคนิคการทำถมขึ้นเอง เพื่อใช้สอยกันในครัวเรือนหรือในชีวิตประจำวัน จากนั้นจึงได้พัฒนาฝีมือจนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ยุคนี้ถือเอา พ.ศ.2061 เป็นปีเริ่มต้นยุค ไม่มีหลักฐานหรือร่องรอยใดอันแสดงให้เห็นว่าผลงานเครื่องถมนครแต่ละชิ้นในอดีตเป็นฝีมือของช่างคนใดหรือสกุลใด รู้แต่เพียงว่าผลงานเหล่านี้มาจากช่างฝีมือนิรนามชาวนครศรีธรรมราช เป็นผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันเป็นหลักความงามที่ปรากฏมิได้เกิดจากความประสงค์ส่วนตัวของช่างถมเพื่อแสดงออกทางศิลปะแต่คงมาจากความเพียรพยายามของช่าง ที่ได้ฝึกฝนและผลิตงานนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายชั่วคนจนกลายเป็นงานศิลปหัตถกรรมชั้นสูง ที่สะท้อนลักษณะพิเศษเฉพาะถิ่นหรือเอกลักษณ์ของถิ่นกำเนิด


 ยุคก้าวเดินของเครื่องถมเมืองนคร
   เป็นยุคที่ช่างถมในนครศรีธรรมราชได้พัฒนาฝีมือขึ้นถึงระดับ "ศิลปหัตถกรรม"โดยถือเอา พ.ศ.2200 เป็นปีเริ่มต้นยุคในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีรับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจัดหาช่างถมที่มีฝีมือ  เข้ามาทำเครื่องถมเพื่อส่งไปถวายเป็นราชบรรณาการแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส และในเวลาไล่เลี่ยกันก็โปรดเกล้า ฯ ให้ช่างถมชาวนครทำการเขนถมเพื่อให้ราชทูตไทยนำไปถายโป๊ป ณ กรุงโรม ยุคนี้จึงถือได้ว่าเป็นยุคก้าวเดินของเครื่องถมและช่างถมเมืองนครโดยแท้


 ยุคราชสำนักของเครื่องถมเมืองนคร
     ช่างถมชาวนครได้พัฒนางานถมมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถือได้ว่าผลงานเครื่องถมได้กลายเป็นเครื่องราชูปโภคประจำราชสำนักโดยมีเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นกำลังสำคัญในการอุปถัมภ์ช่างถมและเป็นกำลังหลักในการพัฒนาลวดลายฝีมือช่างถมในยุคนี้
        เจ้าพระยานคร (น้อย) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชลำดับที่ 3 ในสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากจะมีฝีมือทางการรบทัพจับศึกแล้วยังเป็นช่างทำเรือกำปั่นและช่างทำเครื่องถมฝีมือดี มีหลักฐานว่าเจ้าพระยาผู้นี้ได้เคยทำพระแท่นที่เสด็จออกขุนนาง และทำพระเสลี่ยงถวายสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
        เจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) เจ้าเมืองนครลำดับที่ 4เป็นผู้อุปภัมภ์ช่างถมคนสำคัญในนครศรีธรรมราช เล่ากันมาว่าเจ้าพระยาผู้นี้ได้ชักชวนช่างถมหลายคนเข้าไปอยู่ในวังเพื่อสร้างงานถมขึ้น มีหลักฐานว่าช่างเหล่านี้ได้ร่วมกันทำพระเก้าอี้ถมอนุโลมจากพระแท่นและพนักเรือพระที่นั่ง เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
        เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ลำดับที่ 5 ขณะดำรงค์ตำแหน่งพระยานครศรีธรรมราช  ได้เป็นแม่กองให้ช่างถมนครทำพระที่นั่งพุดตานถม (ซึ่งตั้งไว้ในท้องพระโรงกลาง)    ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงสร้างพระที่นั่งจักรีมหาประสาทในพระบรมมหาราชวัง
        อนึ่ง แม้ในสมัยปัจจุบัน ช่างถมนครก็ยังได้รับความไว้วางใจให้สร้างผลงานสู่ราชสำนัก ดังเช่นกรณี นายสันต์ เอกมหาชัย   ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเคยเป็นผู้ประสานงานจัดหาช่างถมฝีมือดีในนครศรีธรรมราชจัดทำเครื่องถม 3 รายการเพื่อถวายแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน

ยุคโรงเรียนช่างถม
    ในขณะที่ช่างถมรุ่นเก่าเริ่มล้มหายตายจากไปปีละคนสองคน พระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนธโช) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ ในฐานะผู้อำนวยการการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราชก็ได้จัดตั้งสถาบันฝึกวิชาทำเครื่องถมขึ้นในวัดท่าโพธิ์ ตำบลท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2456 เรียกว่า   "โรงเรียนช่างถม"โดยใช้เงินนิตยภัตที่ท่านเจ้าคุณได้รับพระราชทานมาจ่ายเป็นเงินเดือนแก่ช่างถม กิจการของโรงเรียนดำเนินมากระท่อนกระแท่นหลายปี จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการเห็นความสำคัญของศิลปหัตถกรรมด้านนี้จึงรับโรงเรียนนี้ไว้เป็นโรงเรียนรัฐบาลได้พัฒนาทั้งอาคารสถานที่ บุคลากร      และหลักสูตรจนในที่สุดกลายเป็นวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราชที่มั่นคงอยู่ในปัจจุบันนี้

 ยุคฟื้นฟูวัฒนธรรมของเครื่องถมเมืองนคร
    ด้วยเหตุที่ค่านิยมการเรียนวิชาชีพหรืออาชีวศึกษาในยุคก่อนไม่เป็นที่นิยมของเด็กและผู้ปกครองจึงทำให้จำนวนช่างถมในนครศรีธรรมราชค่อย ๆ ลดลงประกอบกับผลิตภัณฑ์เครื่องถมมีราคาแพง  การประกอบอาชีพช่างถมจึงเริ่มถึงทางต้น รัฐบาลเริ่มให้ความสำคัญต่องานวัฒนธรรม  โดยการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) ขึ้นในปี พ.ศ.2522 หน่วยงานนี้ได้ให้ความสำคัญต่อช่างและศิลปินผู้ผลิตหรือประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรม  โดยการจัดทำโครงการเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ เ ป็นประจำทุกปี ด้วยหลักการและเหตุผลของโครงการน    ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช (สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราชปัจจุบัน)   จึงได้สรรหาบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านเครื่องถมในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งผลปรากฏว่ามีช่างถม2คนที่ได้รับการพิจารณาให้เป็น"ศิลปินแห่งชาติ" และ "ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม" คือ นายเห้ง โสภาพงค์ และนายชุ่ม สุวรรณทิพย์ ตามลำดับ





ขั้นตอนการทำเครื่องถม


ขั้นตอนการทำเครื่องถม

การเคาะขึ้นรูปเครื่องถมเมืองนคร
การเคาะขึ้นรูป  เป็นการเตรียมรูปทรงโลหะ  การเคาะขึ้นรูปจะมีแม่แบบหรือหุ่นขัดผิวโลหะให้เรียบด้วยกระดาษทรายน้ำ

 การแกะสลักลายเครื่องถมเืมืองนคร
 
     การแกะสลักจะเขียนลวดลายทั้งหมดด้วยหมึกก่อน  แล้วจึงสลักลายให้เป็นร่องลึก  บริเวณที่แกะสลักเป็นร่องคือบริเวณที่จะใส่น้ำยาถมลาย ลายที่นิยมได้แก่  ลายไทย  เช่น  ลายกยก  กระจัง  ดอกไม้  

           
 การถมลายเครื่องถมเมืองนคร
          การถมลาย  การใส่น้ำยาถมต้องใส่ให้เต็ม  เกลี่ยให้เสมอกัน และเป่าให้ความร้อนด้วยเครื่องเป่าแล่น  ความร้อนจะทำให้น้ำยาที่ถมละลายไหลเกาะติดกับโลหะเงิน


 การขัดแต่งลายเครื่องถมเมืองนคร
          ขัดแต่งลาย   ผิวของโลหะเมื่อถูกความร้อน   อาจจะขรุขระหยาบเป็นเม็ดด้วยน้ำยาถมหรือน้ำประสานกระเด็น ต้องขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวโลหะเรียบสะอาดแล้วขัดซ้ำด้วยถ่านไม้เนื้ออ่อนให้ผิวขึ้นเงา  หากลวดลายที่ปรากฏแข็งไม่อ่อนช้อยช่างแกะจะแกะต่อเติมลายเส้นเบา ๆบนโลหะได้อีก เรียกการแกะนี้ว่า  "แกะแร" แล้วขัดให้ขึ้นเงาเป็นมันด้วยผ้านุ่มผสมยาดิน
  

ความเป็นมาของเครื่องถมเมืองนคร

ความเป็นมาของเครื่องถมเมืองนคร

ความเป็นมาของเครื่องถมเมืองนคร
 เครื่องถม  หมายถึง  ภาชนะ  เครื่องใช้ที่ทำด้วยเงินหรือทอง  มีลวดลายแกะเป็นสีเงินหรือสีทอง  ตัดกับสีพื้นหรือสีของน้ำยาสีดำสนิทลวดลายที่เกิดขึ้นบนเครื่องถม   เกิดจากการแกะสลักเป็นลวดลาย เป็นร่องลึกลงไปบนภาชนะแล้วใช้ตัวยา ซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีสีดำผสมกับน้ำประสานทอง  หลอมละลายแทรกลงไปในช่องว่างระหว่างลาย เพื่อช่วยให้เห็นลายเด่นชัดขึ้น
        การทำเครื่องถม สันนิษฐานว่าชาวนครศรีธรรมราชได้ความรู้จากช่างโปรตุเกส ซึ่งเข้ามา   ค้าขายอยู่ในเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  คือ ใน พ.ศ. 2061  ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  แต่บางท่านกล่าวว่าชาวนครศรีธรรมราชน่าจะรับวิธีการทำเครื่องถมจากอินเดียในระยะก่อนหน้านั้น ฝีมือการเขียนลวดลายและสลักลงบนเนื้อเงินงดงามจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าจะหาช่างถมจากบ้านเมืองอื่นมาเทียบไม่ได้จนเป็นที่แพร่หลายเลื่องลือในนามว่า “ถมนคร”  ซึ่งต่อมาแพร่ไปสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช    พระองค์ได้รับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น จัดหาช่างถมเข้าไปทำไม้กางเขนถม เพื่อส่งไปถวายพระสันตปาปา ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี แท้จริงแล้วชาวโปรตุเกสที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยานั้น มิได้นำเอาเครื่องถมเข้ามาเผยแพร่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่  ประเพณีอื่น ๆ  บางอย่างเช่น การชนวัว การมีตลาดนัด  ก็ได้นำเข้ามาเผยแพร่ด้วย  และความนิยมเหล่านี้ได้มีสืบต่อมาและแพร่หลายอยู่ทั่วไปจนกระทั่งทุกวันนี้  เมื่อชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้รับวิธีการทำเครื่องถมจากชาวโปรตุเกสมาในคราวนั้นแล้ว  ชาวเมืองนครซึ่งมีความสามารถในทางนี้อยู่แล้ว  ได้ดัดแปลงแก้ไขรูปพรรณและลวดลายต่าง ๆ    ตามแนวนิยมของศิลปกรรมไทยได้ประณีตและสวยงามยิ่งขึ้นประกอบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชทุกยุคทุกสมัยก็ได้เอาในใส่ทะนุบำรุงอย่างดี และพยายามจัดให้มีการถ่ายทอดวิชานี้สืบต่อมา
       เครื่องถมนคร มีชื่อเสียงมากและได้รับความนิยมอย่างสูงโดยเฉพาะในราชสำนักในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดเครื่องถมเมืองนครเป็นจำนวนไม่น้อยส่งรวมกับเครื่องราชบรรณาการไปถวายแด่พระนางวิคตอเรียแห่งอังกฤษ